เมนู

นาถกรณวรรคที่ 2


อรรถกถาเสนาสนสูตรที่ 1


วรรคที่ 2

เสนาสนสูตรที่ 1 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปญฺจงฺคสมนฺนาคโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยองค์คุณ 5.
บทว่า นาติทูรํ โหติ นาจฺจาสนฺนํ ความว่าสถานที่แห่งใดไกลเกินไป
ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปในสถานที่แห่งนั้น ก็มีความลำบากกายและจิต เธอ
ก็ทำสมาธิที่ยังไม่เกิดให้เกิดไม่ได้ หรือทำสมาธิที่เกิดแล้วให้มั่นคงไม่ได้
สถานที่ใกล้เกินไปก็เกลื่อนกล่นด้วยคนเป็นอันมาก. ก็แลสถานที่พ้นจาก
โทษทั้งสองนั้น ในประเทศประมาณ 40 อุสภะ ก็ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยการ
คมนาคม. บทว่า ทิวา อปฺปกิณฺณํ ได้แก่ ไม่เกลื่อนกล่นด้วยคนเป็น
อันมาก ในเวลากลางวัน.
จบอรรถกถาเสนาสนสูตรที่ 1

2. อังคสูตร


ว่าด้วยภิกษุผู้ละองค์ 5 ประกอบด้วยองค์ 5 เป็นอุดมบุรุษ


[12] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ 5 ได้แล้ว เป็นผู้
ประกอบด้วยองค์ 5 บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบ
พรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เป็นผู้ละองค์ 5 ได้แล้วอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละกาม-
ฉันทะได้แล้ว 1 ละพยาบาทได้แล้ว 1 ละถีนมิทธะได้แล้ว 1 ละอุท-
ธัจจกุกกุจจะได้แล้ว 1 ละวิจิกิจฉาได้แล้ว 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ละองค์ 5 ได้แล้วอย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบ

ด้วยองค์ 5 อย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์
อันเป็นของพระอเสขบุคคล 1 ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระ-
อเสขบุคคล 1 ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล 1
ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล 1 ประกอบด้วยวิมุตติ-
ญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ 5 อย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละ
องค์ 5 ได้แล้ว ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 บัณฑิตเรียกว่าผู้ประกอบด้วยคุณ
ทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
และวิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง
เทียว ภิกษุผู้เช่นนั้นสมบูรณ์ด้วยศีลอันเป็นของพระ-
อเสขะ ด้วยสมาธิอันเป็นของพระอเสขะ ด้วยปัญญา
อันเป็นของพระอเสขะ ด้วยวิมุตติอันเป็นของพระ-
อเสขะ และด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระ-
อเสขะ ภิกษุนั้นแล เป็นผู้ละองค์ 5 สมบูรณ์แล้ว
ด้วยองค์ 5 ภิกษุนั้นแล บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบ
ด้วยคุณทั้งมวลในธรรมวินัยนี้.

จบอังคสูตรที่ 2

อรรถกถาอังคสูตรที่ 2


อังคสูตร

ที่ 2 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เกวลี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณหมดทั้งสิ้น. บทว่า วุสิตวา
แปลว่า ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว. บทว่า อเสกฺเขน ได้แก่ โลกุตรธรรม